Story and Photos by Vincent Giordano
The competitive world of Muay Thai has never been an easy path for the young fighters who endure the daily grind – in exchange for often-meager earnings – that inches them forward in their career. The life of a Muay Thai boxer doesn’t always end in a downward spiral back toward poverty and back-wrenching labor. For some, the fighting spirit infuses their daily lives and spurs them toward greater aspirations – not only for themselves, but also for their families.
Ajarn Warakorn Jarasrutaikul – affectionately known as Ajarn Dang – began his Muay Thai career as a young boy soon after his parents relocated to the coastal city of Rayong, a fishing town located on the Gulf of Thailand. When young Dang expressed interest in fighting, his uncle (who was involved in a local boxing camp at the time) made the necessary introductions that allowed Dang to begin his training. Soon he began fighting regularly against many young rising stars in the south, like Samart Payakaroon, his life-long friend and former superstar Muay Thai champion.
After his junior fighting career wound down, Dang decided to go back to school. Soon after graduation, however, he returned to Muay Thai, this time as a burgeoning trainer and coach. His new career began to take shape in Bangkok when he got a job as a trainer at Petch Yin Dee Kai Muay, then one of the city’s most prominent fighting camps. Simultaneously, his 13-year-old brother Dan Suriya decided to pursue a fighting career of his own under Ajarn Dang’s tutelage.
Ajarn Dang immediately began putting his younger brother through grueling training sessions that often extended well into the night. “At the time, most children started fighting at six or seven years of age,” recalls Ajarn Dang. “My brother was already seven years behind, and most of the fighters he would be competing against would have that much more experience and fights. We needed to train harder and get the experience in a compressed manner. It was not easy by any means.”
The grueling daily sessions and constant fights began to mold his younger brother into a durable competitor moving up the ranks. Ajarn Dang’s critical eye and constant push to improve his fighters increment by increment began to pay off. Soon he was producing high-caliber fighters that could fight in any Muay Thai arena.
While at Petch Yin Dee, Ajarn Dang once again returned to school at night to continue his education. His burning desire to keep climbing the ladder of success led him to relocate to Sor Suwanphakdee, a new camp where he finally began putting it all together. There, he produced over ten champions, led by standouts Phet-ek Sor Suwanphadkee and Phet-arun Sor Suwanphadkdee. But Dang still possessed a tremendous amount of ambition when he accepted a good-paying government job that only allowed him to keep part-time interest in Muay Thai and his camp activities.
Ajarn Dang later found a reliable business partner to create yet another super-camp in Sor Tawanrung. In 2012, that camp was named “Best Muay Thai Camp” by the Sports Authority of Thailand; in addition, Dang was named “Best Trainer of the Year” in 2012.
Dang returned to his first love full time when the revamped Sor Taranwang opened in 2015 at its new location in Photolai Lesiure Park in Bangkok.
Ajarn Dang and Dang Suriya continued their winning ways through the many transitory periods. Together, the brothers formed a formidable fighting partnership that lasted through all of Dang Suriya’s close to 80 fights. It ended tragically when an elbow to the eye derailed Dang Suriya’s fighting career and eventually left him blind in one eye.
Dang Suriya looked to the future and decided to transition into a trainer. Ajarn Dang mentored his brother yet again, putting him through a precise and grueling process that would mold him into a world-class trainer and coach. When he was ready, Dang Suriya left for Japan, where he taught Muay Thai for many years before eventually returning to Thailand. The two brothers were fated to reunite once again, and through the re-launch of the new Sor Taranwang, Dang Suriya became one of the head trainers leading the daily training sessions at the camp.
Ajarn Dang, now at a point in his career when he could invest his time into more personal and altruistic endeavors, began a process that would allow him to give something back to the sport of Muay Thai.
At the time of Dang Suriya’s unfortunate injury, many in the sports community were calling for the government to organize a fund for retired professional fighters, many of whom were national heroes who had suffered debilitating injuries during their careers.
Stories like that of Saensak Muangsurin, known as the Devil’s Shadow, one of most memorable Muay Thai fighters during the ’70s, illustrated how this fund was sorely needed. Saensak went on to become the WBC Junior Welterweight Champion, setting a world record by winning the title in only his third professional boxing match. Soon after retiring, an assortment of physical ailments plagued him. First among these was his loss of eyesight, which rendered him a blind landlord of a small home that rented rooms for a pittance.
Dang, drawing on his successful camp and professional career experience, formed (along with his childhood friend Samart Payakaroon) the Muay Thai Nai Khamontom Association to help former fighters who had fallen on hard times or suffered injuries during their careers. The Association seeks to also help the next generation of Muay Thai fighters as they rise through the ranks, offering incentives and assistance where needed. “It’s a very personal mission for me and all the others involved to help the former fighters and give back to Muay Thai so it will become a much stronger sport in ways beyond fighting for future generations,” explains Ajarn Dang.
Ajarn Dang has proven that Muay Thai can be a positive path when the lessons and attributes it offers are used in daily life. The boy fighting his way toward something better on the shores of Rayong learned that one can reach beyond the limits of the sport to become not only a prominent member of his community, but also a successful businessman. He has never forgotten what the sport instilled in him, and ultimately he hopes to give something back to it. And that desire is what makes him the man he is today.
Ajarn Warakorn Jarasrutaikul – Sor Tawanrung Kai Muay Video on Youtube:
Follow Sor Tawanrung Muay Thai Gym on Facebook.
Visit Sor Tawanrung Muay Thai Gym website.
อาจารย์วรากร จรัสฤทัยกุล
ค่ายมวย ส.ตะวันรุ่ง
เรื่องและภาพ โดย Vincent Giordano
โลกของมวยไทยที่เต็มไปด้วยการแข่งขันไม่เคยเป็นเส้นทางที่ง่ายเลยโดยเฉพาะสำหรับนักชกน้องใหม่ที่ต้องอดทนต่อการฝึกซ้อมอย่างหนักในทุกๆวันเพื่อแลกกับรายได้อันน้อยนิด สิ่งนี้ทำให้นักชกมีความก้าวหน้าในเส้นทางการชกอาชีพ สำหรับชีวิตของนักมวยนั้นไม่ได้เลือกการชกมวยเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังมีนักมวยอีกจำนวนหนึ่งที่ได้ใช้ความมุ่งมั่นในการต่อสู้มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อตัวของเขาเองและเพื่อครอบครัว
อาจารย์วรากร จรัสฤทัยกุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อาจารย์แดง ได้เริ่มอาชีพนักมวยไทยตั้งแต่ครั้งที่อาจารย์ยังเป็นเด็กตอนที่พ่อและแม่ของอาจารย์ได้ย้ายมาอยู่ที่จังหวัดระยอง เมืองแห่งชายทะเลที่ตั้งอยู่บนอ่าวไทย เมื่ออาจารย์แดงได้แสดงความสนใจในศิลปะการต่อสู้ ลุงของท่าน(ที่ทำงานให้กับค่ายมวยท้องถิ่นในขณะนั้น) ได้แนะนำอาจารย์แดงให้แก่ค่ายและอาจายร์แดงเริ่มฝึกซ้อมมวยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นอาจารย์แดงได้เริ่มขึ้นชกกับนักชกหน้าใหม่จากภาคใต้เป็นประจำ อาทิ สามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตแชมป์และซูเปอร์สตาร์มวยไทย ที่ต่อมาได้กลายเป็นเพื่อนที่สนิทกันจนถึงทุกวันนี้
หลังจากที่อาชีพนักชกเยาวชนของอาจารย์เริ่มสิ้นสุด อาจารย์แดงได้ตัดสินใจกลับไปศึกษาต่อ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่สำเร็จการศึกษา อาจารย์ได้กลับมาชกมวยไทยอีกครั้ง โดยครั้งนี้เส้นทางอาชีพนักมวยของอาจารย์เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร โดยอาจารย์ได้งานในตำแหน่งเทรนเนอร์ของค่ายมวยเพชรยินดี ซึ่งเป็นหนึ่งในค่ายมวยที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเมืองหลวง ในเวลาเดียวกัน แดน สุริยา น้องชายวัย 13 ปีของอาจารย์แดง ได้ตัดสินใจเริ่มอาชีพนักชกเช่นกันภายใต้การฝึกซ้อมของอาจารย์แดง
อาจารย์แดงให้น้องชายฝึกซ้อมอย่างหนักจนบางครั้งต้องฝึกซ้อมจนถึงเวลาค่ำ “ในช่วงนั้น เด็กๆส่วนใหญ่เริ่มชกมวยตั้งแต่อายุหกหรือเจ็ดขวบ” อาจารย์แดงกล่าว “น้องชายของผมมีอายุแก่กว่าเด็กพวกนั้นถึงเจ็ดปี และนักชกส่วนใหญ่ที่จะขึ้นชกกับน้องชายของผมต่างมีประสบการณ์มากกว่าเกือบทั้งนั้น ดังนั้น เราต้องฝึกซ้อมให้หนักยิ่งขึ้นและหาประสบการณ์ แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย”
การฝึกซ้อมอย่างหนักในแต่ละวันและการขึ้นชกอย่างต่อเนื่องได้หล่อหลอมให้น้องชายของอาจารย์แดงกลายเป็นนักชกที่อึดและทนทานและสามารถไต้เต้าขึ้นสู่นักชกอันดับที่สูงได้ ด้วยสายตาที่เฉียบแหลมและการผลักดันอย่างต่อเนื่องของอาจารย์แดงในการพัฒนานักชกนั้นค่อยๆเริ่มส่งผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม จากนั้น อาจารย์เริ่มผลิตนักชกความสามารถสูงที่สามารถขึ้นชกได้ในทุกสังเวียนมวยไทย
ระหว่างที่อาจารย์ยังทำงานที่ค่ายมวยเพชรยินดีนั้น อาจารย์แดงมักจะกลับมาที่ค่ายในตอนกลางคืนเพื่อฝึกซ้อมด้วยตัวเอง ความปราถนาอันแรงกล้าของอาจารย์ในการไขว่คว้าความสำเร็จได้ส่งผลให้อาจารย์ตัดสินใจย้ายมาทำงานที่ค่ายมวย ส.สุวรรณภักดี ซึ่งเป็นค่ายมวยใหม่ โดยอาจารย์แดงได้ผลิตนักชกระดับแชมเปี้ยนขึ้นมากว่าสิบรายทั้งที่ค่าย เพชรเอก ส.สุวรรณภักดี และ ค่ายเพชรอรุณ ส.สุวรรณภักดี อย่างไรก็ตาม อาจารย์แดงยังคงมีความมุ่งมั่นในเส้นทางนี้ โดยอาจารย์ได้รับงานของรัฐบาลที่ให้ค่าตอบแทนอย่างงามแต่อาจารย์สามารถร่วมกิจกรรมของค่ายมวยได้ไม่เต็มเวลา
ต่อมา อาจารย์แดงได้พบกับพันธมิตรทางธุรกิจที่ไว้วางใจได้และได้ร่วมกันก่อตั้งค่ายมวยร่วมกันภายใต้ชื่อ ส.ตะวันรุ่ง ในปี 2555 ค่ายมวยแห่งนี้ได้รับรางวัล “ค่ายมวยไทยที่ดีที่สุด ” จากกระทรวงกีฬาแห่งประเทศไทย ยิ่งไปกว่านั้น อาจารย์แดงยังได้รับการยกย่องให้เป็น “เทรนเนอร์มวยยอดเยี่ยม” ประจำปี 2555
อาจารย์แดงได้กลับมาทำงานที่รักแบบเต็มเวลาอีกครั้งเมื่อมีการเปิดค่ายมวย ส.ตะวันรุ่งแห่งใหม่ในปี 2558 ที่โพธาลัย เลเชอร์ ปาร์ค กรุงเทพมหานคร
อาจารย์แดงและแดน สุริยา ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในเส้นทางมวยไทย ทั้งนี้ พี่น้องทั้งสองคนได้ร่วมกันชกมวย โดย แดน สุริยา สามารถขึ้นชกกว่า 80 สังเวียน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่าเศร้าอย่างยิ่งที่ แดน สุริยา ถูกข้อศอกของคู่ชกกระแทกเข้าที่ตาข้างหนึ่งอย่างจังและส่งผลให้อาชีพนักชกต้องสิ้นสุดลงและสูญเสียการมองเห็นของตาหนึ่งข้าง
จากนั้น แดน สุริยา ได้ตัดสินใจผันตัวเองมาเป็นเทรนเนอร์มวย โดยมีอาจารย์แดงเป็นผู้ฝึกสอนให้แก่น้องชายอีกครั้งเพื่อที่ แดน สุริยา สามารถกลายเป็นเทรนเนอร์และโค้ชมวยระดับโลกได้ ต่อมา อาจารย์แดน สุริยา ได้เดินทางไปสอนมวยไทยที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลาหลายปีก่อนที่จะเดินทางกลับมายังประเทศไทย พี่น้องทั้งสองคนจึงได้พบและร่วมงานกันอีกครั้งด้วยการเปิดค่ายมวยแห่งใหม่ภายใต้ชื่อ ส.ตะวันรุ่ง และแดน สุริยา ได้กลายเป็นหนึ่งในหัวหน้าเทรนเนอร์ที่ทำหน้าที่ฝึกซ้อมนักมวยในค่ายในแต่ละวัน
ในตอนนี้ อาจารย์แดง สามารถทุ่มเทเวลามากยิ่งขึ้นเพื่อตอบแทนให้แก่กีฬาศิลปะการต่อสู้มวยไทยได้
เมื่อครั้งที่ แดน สุริยา ได้รับบาดเจ็บสาหัสที่ดวงตานั้น ผู้ที่อยู่ในวงการกีฬาจำนวนมากได้เรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรเงินทุนให้แก่นักชกที่แขวนสังเวียน โดยมีนักชกจำนวนมากที่เคยเป็นฮีโร่ของประเทศแต่ต้องได้รับบาดเจ็บสาหัสระหว่างทำหน้าที่
โดยเรื่องราวของนักชกแสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ เงาปีศาจ เป็นหนึ่งในนักชกมวยไทยที่เป็นที่กล่าวขานมากที่สุดในยุค70 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่านักชกที่ได้รับบาดเจ็บมีความจำเป็นในการใช้เงินจากกองทุนนี้ ทั้งนี้ แสนศักดิ์ ได้รับตำแหน่ง WBC Junior Welterweight Champion และได้ทำสถิติโลกในการชนะตำแหน่งนี้ในการขึ้นชกอาชีพในครั้งที่สามเท่านั้น หลังจากที่แขวนสังเวียน อาการบาดเจ็บทางร่างกายได้ส่งผลต่อแสนศักดิ์ ทำให้กลายเป็นคนตาบอดที่หาเลี้ยงชีพด้วยการปล่อยห้องให้เช่า
อาจารย์แดงได้ใช้ประสบการณ์ในการทำค่ายมวยให้ประสบความสำเร็จและประสบการณ์จากเส้นทางนักชกอาชีพ ได้ก่อตั้ง (ร่วมกับสามารถ พยัคฆ์อรุณ) สมาคมมวยไทย นายขนมต้ม ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลืออดีตนักชกที่ลำบอกหรือที่ต้องทุกข์ทรมาณจากการบาดเจ็ฐจากการชกมวย โดยสมาคมยังได้ช่วยเหลือนักชกน้องใหม่เช่นกันในการไต่อันดับ โดยให้ค่าตอบแทนและความช่วยเหลือตามความจำเป็น “นี่คือภารกิจส่วนตัวสำหรับผมและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในการช่วยเหลืออดีตนักชกและตอบแทนให้แก่มวยไทยเพื่อให้กลายเป็นกีฬาที่มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต” อาจารย์แดง กล่าว
อาจารย์แดงได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าการเรียนรู้และคุณลักษณะของมวยไทยสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันในทางที่ดีได้ จากเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ใช้การต่อสู้เพื่อให้ชายหาดระยองเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นนั้น ได้เรียนรู้ว่าเราทุกคนสามารถทำสิ่งต่างๆที่เหนือข้อจำกัดของกีฬาได้ ซึ่งจะไม่ได้ช่วยให้เรากลายเป็นสมาชิกที่โดดเด่นของชุมชนเท่านั้นแต่ยังเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอีกด้วย เขาไม่เคยลืมเลยว่ากีฬาได้ปลูกฝังอะไรบ้างให้แก่เขา และเขาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้มีโอกาสตอบแทนในสิ่งนี้ ความปราถนาดังกล่าวได้ส่งผลให้อาจารย์แดงได้ขึ้นมายืนบนจุดนี้ได้
อาจารย์วรากร จรัสฤทัยกุล
วิดีโอค่ายมวย ส.ตะวันรุ่ง บน Youtube:
ค่ายมวย ส.ตะวันรุ่ง บน Facebook
เว็บไซต์ค่ายมวย ส.ตะวันรุ่ง